วันอาทิตย์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

creadit


ประเภทของกราฟิก

ประเภท
การสร้างภาพกราฟิกด้วยคอมพิวเตอร์ มีวิธีการสร้าง 2 แบบ คือ แบบบิตแมพ (Bit Mapped) และแบบเวกเตอร์ (Vector) หรือสโตรก (Stroked) แต่ละแบบวิธีการรสร้างภาพดังต่อไปนี้

Bitmap

 กราฟิกแบบบิตแมปความหมายที่ค่อนข้างจะตรงไปตรงมา คือ มีลักษณะเป็นช่องๆ เหมือนตาราง แต่ละบิตก็คือส่วนหนึ่งของข้อมูลคอมพิวเตอร์ (ซึ่งก็คือสวิตซ์ปิดเปิดในหน่วยความจำ "1" หมายถึงเปิด และ "0" หมายถึงปิด) และสวิตซ์ปิดเปิดนี้ก็ยังหมายถึงสีดำและสีขาวอีกด้วย ดังนั้น ถ้าเราเอาบิตที่แตกต่างกันในแต่ละตารางมารวมกันเข้า เราจะสามารถสร้างภาพจากจุดดำและขาวเหล่านี้ได้ กราฟิกแบบบิตแมปทุกชนิดมีลักษณะที่เหมือนกันอยู่บางประการ ถ้าทำความเข้าใจส่วนต่างๆ เหล่านี้ เราสามารถที่จะหลีกเลี่ยงหรือป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้

 Pixel คืออะไร 

พิกเซล (เป็นคำที่ใช้แทนองค์ประกอบของภาพ) เป็นองค์ประกอบพื้นฐานของภาพบิตแมป ซึ่งองค์ประกอบย่อยๆ เหล่านี้ถูกรวมกันเข้าทำให้เกิดภาพ เราคงคุ้นเคยกับการที่ส่วนประกอบย่อยๆ มารวมกันเพื่อประกอบเป็นรายการสิ่งของต่างๆ เป็นต้นว่า เอาแต่ละชิ้นของบล็อกกระจกมาประกอบกันเป็นหน้าต่าง แต่ละเข็มของการเย็บปักถักร้อยประกอบกันกลายเป็นผลงานทางด้านเย็บปักถักร้อย 1 ชิ้น หรือแต่ละจุดของโลหะเงินประกอบกันเป็นรูปภาพ 1 รูป นั้นคือองค์ประกอบอาจจะเป็นแก้วชิ้นใหญ่บนหน้าต่าง หรือจุดโลหะเงินเล็กๆ บนแผ่นฟิล์มก็ได้ โดยแต่ละชิ้นเป็นองค์ประกอบที่แยกจากกัน เปรียบเทียบได้กับพิกเซลซึ่งถือเป็นหน่วยย่อยที่เล็กที่สุดของรูปภาพ พิกเซลมีความสำคัญต่อการสร้างกราฟิกของคอมพิวเตอร์มาก เพราะทุกๆ ส่วนของกราฟิก เช่น จุด เส้น แบบลายและสีของภาพ ล้วนเริ่มจากพิกเซลทั้งสิ้น พิกเซลหนึ่งๆ อาจจะมีขนาดความเข้มและสีแตกต่างกันได้ ในโลกแห่งดิจิตอลของรูปภาพคอมพิวเตอร์ พิกเซล ได้ถูกใช้สำหรับสิ่งต่างๆ เป็นต้นว่าจุดแต่ละจุดบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ จุดแสดงความละเอียดของเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ หรืออุปกรณ์แสดงผลประเภทกราฟิกอื่นๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งบางครั้งอาจทำให้เราสับสนได้เพื่อให้เกิดความชัดเจน ขอให้คำจำกัดความดังต่อไปนี้ พิกเซล หมายถึง องค์ประกอบย่อยในไฟล์กราฟิกแบบบิตแมป วิดีโอพิกเซล หมายถึง องค์ประกอบย่อยของภาพในหน้าจอคอมพิวเตอร์ จุดหรือดอต หมายถึง ความละเอียดของภาพที่พิมพ์โดยเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ 

เอสเป็กเรโซของภาพ (Image Aspect Ratio)

แอสเป็กเรโชของภาพ คือ อัตราส่วนระหว่างจำนวนพิกเซลทางแนวขวาง และจำนวนพิกเซลทางแนวดิ่งที่ใช้ในการสร้างภาพ หากจะยกตัวอย่างเปรียบเทียบกับกระดาษกราฟ จะเห็นได้ว่าภาพบิตแมปใดๆ ก็ตามจะมีจำนวนพิกเซลคงที่ในมิติแนวขวางและแนวดิ่ง ซึ่งอัตราส่วนมีไว้อ้างถึงขนาดของภาพและมักจะเขียนในรูปของ 800 x 600 (ซี่งหมายถึงรูปภาพที่มี 800พิกเซลในแนวขวาง และ 600 บรรทัดของพิกเซลในแนวดิ่ง) เราสามารถคำนวณหาจำนวนพิกเซลทั้งหมดในรูปภาพได้โดยการคูณตัวเลขทั้งสองนี้เข้าด้วยกัน นั่นคือรูปภาพที่มีแอสเป็กเรโช800 x 600 จะมีทั้งหมด 480,000พิกเซล ซึ่งจำนวนดังกล่าวไม่ได้หมายถึงขนาดของไฟล์ของภาพนั้นๆ

 รีโซลูชัน (Resolution) 

 รีโซลูชัน (Resolution) หมายถึง รายละเอียดที่อุปกรณ์แสดงกราฟิกชนิดหนึ่งมีอยู่ ค่ารีโซลูชันมักระบุเป็นจำนวนพิกเซลในแนวนอนคือแนวแกน X และจำนวนพิกเซลในแนวตั้งคือแนวแกน Y ดังนั้นรีโซลูชัน 720 x 348 จึงหมายความว่า อุปกรณ์แสดงกราฟิกชนิดนี้สามารถแสดงพิเซลในแนวนอนได้ไม่เกิน 720พิกเซล และแสดงพิกเซลในแนวตั้งได้ไม่เกิน 348พิกเซล ผู้ผลิตอุปกรณ์แสดงกราฟิกบางรายจะระบุค่ารีโซลูชันเป็นระดับสูง (High Resolution) ปานกลาง (Medium Resolution) และระดับต่ำ (Low Resolution) โดยพิจารณาจากจำนวนพิกเซลในแนวนอนเพียงอย่างเดียว ซึ่งมีหลักว่า ถ้าค่าน้อยกว่า 128 เป็นระดับต่ำ ค่าระหว่าง 128 ถึง 512 เป็นระดับกลาง ค่าสูงกว่า 512 เป็นระดับสูง สำหรับจอภาพขนาดปกติ ถ้ามีค่ารีโซลูชันมากกว่า 1500 ตาจะมองไม่เห็นแต่ละพิกเซลคือจะมองเห็นเป็นภาพที่มีความละเอียดคมชัดสูงมาก คอมพิวเตอร์กราฟิกที่ใช้กับฟิล์มถ่ายรูปในระดับมืออาชีพจะต้องใช้ค่ารีโซลูชันสูงถึง 3000

 Vector

 กราฟิกแบบเวกเตอร์ต่างจากบิตแมปตรงที่บิตแมปนั้นประกอบไปด้วย จุดต่างๆ มากมาย แต่กราฟิกแบบเวกเตอร์ใช้สมการ ทางคณิตศาสตร์เป็นตัวสร้างภาพ เช่น วงกลม หรือเส้นตรง เป็นต้น ถึงแม้ว่าอาจจะฟังดูซับซ้อนสักเล็กน้อยแต่ภาพบางชนิดก็ถูกสร้างได้ง่าย หลักที่จะนำไปสู่กราฟิกแบบเวกเตอร์ก็คือ การรวมเอาคำสั่งทางคอมพิวเตอร์และสูตรทางคณิตศาสตร์เพื่ออธิบายเกี่ยวกับออบเจ็กต์ ซึ่งจะปล่อยให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์เช่น จอภาพ หรือเครื่องพิมพ์เป็นตัวกำหนดเองว่าจะวางจุดจริงๆ ไว้ที่ตำแหน่งใดในการสร้างภาพ คุณลักษณะเด่นเหล่านี้ทำให้กราฟิกแบบเวกเตอร์มีข้อได้เปรียบ และข้อเสียเปรียบมากมายกับกราฟิกแบบบิตแมป

ออบเจ็กต์ (Object)

 ออบเจ็กต์ง่ายๆ (เช่น วงกลม เส้นตรง ทรงกลม ลูกบาศก์ และอื่นๆ เรียกว่ารูปทรงพื้นฐาน) สามารถใช้ในการสร้างออบเจ็กต์ที่ซับซ้อนขึ้น กราฟิกแบบเวกเตอร์สามารถสร้างรูปภาพโดยการรวมเอาออบเจ็กต์หลายๆ ชนิดมาผสมกันเราสามารถผสมออบเจ็กต์ต่างชนิดกัน (เช่น วงกลมและเส้นตรง) เพื่อสร้างภาพที่แตกต่างกัน กราฟิกแบบเวกเตอร์ใช้คำสั่งง่ายๆ เพื่อสร้างออบเจ็กต์พื้นฐาน ถ้าเขียนเป็นภาษาคำพูดแบบธรรมดา คำสั่งอาจจะอ่านได้ว่า "ลากเส้นตรงจากจุด A ไปยังจุด B" หรือ "ลากวงกลมรัศมี R โดยมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่จุด P"

เปรียบเทียบ Bitmap VS Vector

 กราฟิกแบบบิตแมป สามารถแสดงให้เห็นที่จอภาพได้เร็วกว่าภาพแบบเวกเตอร์ เช่น การแสดงภาพแบบบิตแมปขนาด 1000 ไบต์ จะทำโดยการใช้คำสั่งย้ายข้อมูลขนาด 1000 ไบต์ จากหน่วยความจำที่เก็บภาพไปยังหน่วยความจำของจอภาพ (คือ Video Display Buffer) ภาพนั้นก็จะปรากฎบนจอภาพทันที การแสดงภาพแบบเวกเตอร์คอมพิวเตอร์จะใช้เวลามากกว่า เนื่องจากคอมพิวเตอร์ต้อง ทำตามคำสั่งที่มีจำนวนมากกว่า

 การเปลี่ยนแปลงขนาดภาพให้โตขึ้นหรือเล็กลงกว่าภาพเดิม กรณีภาพแบบบิตแมปจะทำได้ไม่มาก นอกจากนั้นยังอาจจะทำให้ลักษณะ ของภาพผิดเพี้ยนไปจากเดิมด้วย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงขนาดภาพทำโดยวิธีการเพิ่มหรือลดพิกเซลจากที่มีอยู่เดิม ภาพที่ขยายโต ขึ้นจะมองเห็นเป็นตารางสี่เหลี่ยมเรียงต่อกัน ทำให้ขาดความสวยงาม แต่ภาพแบบเวกเตอร์จะสามารถย่อและขยายขนาดได้มากกว่า โดยสัดส่วนและลักษณะของภาพยังคล้ายเดิม ยิ่งกว่านั้นเราสามารถขยายเฉพาะความกว้างหรือความสูง เพื่อให้มองเห็นเป็นภาพ ผอมหรืออ้วนกว่าภาพเดิมได้ด้วย 

สรุป......การสร้างภาพกราฟิกด้วยคอมพิวเตอร์ มีวิธีการสร้าง 2 แบบ คือ แบบบิตแมพ (Bit Mapped) และแบบเวกเตอร์ (Vector) หรือสโตรก (Stroked)

Bitmap  กราฟิกแบบบิตแมปความหมายที่ค่อนข้างจะตรงไปตรงมา คือ มีลักษณะเป็นช่องๆ เหมือนตาราง แต่ละบิตก็คือส่วนหนึ่งของข้อมูลคอมพิวเตอร์ (ซึ่งก็คือสวิตซ์ปิดเปิดในหน่วยความจำ "1" หมายถึงเปิด และ "0" หมายถึงปิด) และสวิตซ์ปิดเปิดนี้ก็ยังหมายถึงสีดำและสีขาวอีกด้วย

Pixel พิกเซล (เป็นคำที่ใช้แทนองค์ประกอบของภาพ) เป็นองค์ประกอบพื้นฐานของภาพบิตแมป ซึ่งองค์ประกอบย่อยๆ เหล่านี้ถูกรวมกันเข้าทำให้เกิดภาพ เราคงคุ้นเคยกับการที่ส่วนประกอบย่อยๆ มารวมกันเพื่อประกอบเป็นรายการสิ่งของต่างๆ เป็นต้นว่า เอาแต่ละชิ้นของบล็อกกระจกมาประกอบกันเป็นหน้าต่าง

Image Aspect Ratioแอสเป็กเรโชของภาพ คือ อัตราส่วนระหว่างจำนวนพิกเซลทางแนวขวาง และจำนวนพิกเซลทางแนวดิ่งที่ใช้ในการสร้างภาพ หากจะยกตัวอย่างเปรียบเทียบกับกระดาษกราฟ จะเห็นได้ว่าภาพบิตแมปใดๆ ก็ตามจะมีจำนวนพิกเซลคงที่ในมิติแนวขวางและแนวดิ่ง ซึ่งอัตราส่วนมีไว้อ้างถึงขนาดของภาพและมักจะเขียนในรูปของ 800 x 600

Resolution   รีโซลูชัน หมายถึง รายละเอียดที่อุปกรณ์แสดงกราฟิกชนิดหนึ่งมีอยู่ ค่ารีโซลูชันมักระบุเป็นจำนวนพิกเซลในแนวนอนคือแนวแกน X และจำนวนพิกเซลในแนวตั้งคือแนวแกน Y ดังนั้นรีโซลูชัน 720 x 348 จึงหมายความว่า อุปกรณ์แสดงกราฟิกชนิดนี้สามารถแสดงพิเซลในแนวนอนได้ไม่เกิน 720 พิกเซล และแสดงพิกเซลในแนวตั้งได้ไม่เกิน 348 พิกเซล ผู้ผลิตอุปกรณ์แสดงกราฟิกบางรายจะระบุค่ารีโซลูชันเป็นระดับสูง (High Resolution)

Vector   กราฟิกแบบเวกเตอร์ต่างจากบิตแมปตรงที่บิตแมปนั้นประกอบไปด้วย จุดต่างๆ มากมาย แต่กราฟิกแบบเวกเตอร์ใช้สมการ ทางคณิตศาสตร์เป็นตัวสร้างภาพ เช่น วงกลม หรือเส้นตรง เป็นต้น ถึงแม้ว่าอาจจะฟังดูซับซ้อนสักเล็กน้อยแต่ภาพบางชนิดก็ถูกสร้างได้ง่าย หลักที่จะนำไปสู่กราฟิกแบบเวกเตอร์


Object  ออบเจ็กต์ง่ายๆ (เช่น วงกลม เส้นตรง ทรงกลม ลูกบาศก์ และอื่นๆ เรียกว่ารูปทรงพื้นฐาน) สามารถใช้ในการสร้างออบเจ็กต์ที่ซับซ้อนขึ้น กราฟิกแบบเวกเตอร์สามารถสร้างรูปภาพโดยการรวมเอาออบเจ็กต์หลายๆ ชนิดมาผสมกัน

โปรแกรมที่ใช้ออกแบบทางDigital graphic


โปรแกรมหลักๆที่ใช้ในการออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์



เมื่อรู้จักอุปกรณ์ที่สำคัญในคอมพิวเตอร์กันไปแล้วต่อไปจะแนะนำโปรแกรมหลักๆ3โปรแกรมที่ใช้ในการออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์โดยมีดังนี้


โปแกรมIllustrator











Illustrator

โปรแกรม Illustrator เป็นโปรแกรมที่ใช้วาดภาพที่มีชื่อเสียงมาก ใช้ในการวาดภาพกราฟิก แบบ Vector ที่จะพบได้มากก็พวกวาดการ์ตูน หรือวาดภาพตามใบปริว แผ่นพับต่าง รวมถึงภาพในนิตยสารต่าง ถือว่าเป็นโปรแกรมที่มีความนิยมมากโปรแกรมหนึ่ง
ในงานออกแบบกราฟิก โปรแกรม ตระกูล Adobe นับว่ามีบทบาทสำคัญอย่างมากในเรื่องของงานดังกล่าว นักออกแบบทุกหน่วยงานที่มักจะหาโปรแกรมเหล่านี้มาใช้ เนื่องจากเป็นโปรแกรมที่ใช้ได้ง่าย สีสันสวยงาม เหมาะแก่การผลิตชิ้นงานต่างๆ รวมทั้งยังมีบรรดา Plug-in ต่างๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย และสามารถหาดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ทั่วไป ทำให้ผู้ออกแบบสามารถพัฒนางานกราฟิกออกมาได้หลากหลายและสวยงามแปลกตามากยิ่งขึ้น อีกทั้งปัจจุบัน Adobe ได้พัฒนาโปรแกรมเหล่านี้จนถึงเวอร์ชั่น Adobe Creative Suit 3 ทำให้บรรดาโปรแกรมกราฟิกในชุดนี้มีลูกเล่นเพิ่มเติม เหมาะสำหรับนักออกแบบกราฟิกผู้ซึ่งต้องการค้นหาสิ่งแปลกใหม่อยู่เสมอ แม้ว่าบางคนยังฝังใจและคุ้นชินกับเวอร์ชั่นเก่าๆ ที่ใช้งานง่ายกว่าและค่อนข้างจะสนับสนุนการทำงานในโซนของประเทศไทย เนื่องจากเวอร์ชั่นเก่าๆนั้นสามารถรองรับภาษาไทยได้ดี ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับสระลอย ซึ่งอย่างไรก็ตามนักออกแบบไทยหลายท่าน ยังได้หาวิธีการแก้ปัญหาดังกล่าวได้โดยใช้ software ช่วย หรือหาวิธีแก้โดยใช้เทคนิคที่มีอยู่ในโปรแกรม แล้วแต่ถนัดของแต่ละคน
Adobe Illustrator CS2 เป็นเวอร์ชั่นปัจจุบัน ที่ผู้เขียนใช้อยู่ แม้ว่าบริษัทของ Adobe จะพัฒนาไปสู่เวอร์ชั่น CS3 แล้วก็ตาม อันที่จริงก็อยากจะปรับเวอร์ชั่นให้ตามเทคโนโลยีแต่ ปัญหาด้าน hardware ที่ไม่เอื้ออำนวย เพราะยิ่งเวอร์ชั่นสูงเท่าไหร่ ก็จะขโมยหน่วยความจำของเครื่องเรามากขึ้นเท่านั้น เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนลูกเล่นให้มากขึ้นนั่นเอง
Adobe Illustrator เป็นโปรแกรมการทำงานด้านกราฟิกตัวหนึ่ง ซึ่งเป็นการสร้างชิ้นงานจากการวาด เปรียบได้ว่าเป็นผืนผ้าใบผืนใหญ่ที่สามารถทำให้คุณบรรจงสร้างสรรค์ชิ้นงานการวาดภาพผ่านหน้าจอ คอมพิวเตอร์ โดยมีเมาส์เป็นเสมือนพู่กันในการแต่งแต้มลวดลายต่างๆ พร้อมด้วยอุปกรณ์ช่วยเหลื่อต่างๆ ทั้งดินสอ พู่กัน ยางลบ สีต่างๆ และอุปกรณ์อื่นๆ ให้เรียบร้อย ทำให้นักออกแบบสามารถนำไปใช้ในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ ต่างๆ ทั้งออกแบบลายเสื้อผ้า โฆษณา เว็บไซต์ รวมถึงการวาดภาพในรูปแบบของ clip art โดยชั้นงานสำคัญที่ประจักษ์แก่สายตานั่นคือ Clip art ในชุดโปรแกรมของไมโครซอฟท์นั่นเอง

รู้จักโปรแกรม Illustrator

โปรแกรมพื้นฐานที่นักออกแบบทุกคนต้องเรียนรู้ในการสร้างงานกราฟิกมี 2 ชนิดด้วยกัน คือ โปรแกรมประเภทวาดภาพ และโปรแกรมประเภทตกแต่งภาพ
Illustrator คือ โปรแกรมที่ใช้ในการวาดภาพ โดยจะสร้างภาพที่มีลักษณะเป็นลายเส้นที่เกิดจากการคำนวณทางคณิตศาสตร์ หรือที่เรียกว่า Vector Graphic จัดเป็นโปรแกรมระดับมืออาชีพที่ใช้กันเป็นมาตรฐานในการออกแบบระดับสากล สามารถทำงานออกแบบต่างๆ ได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นสิ่งพิมพ์ บรรจุภัณฑ์

Illustrator ทำอะไรได้บ้าง
illustrator ให้เราสามารถสร้างภาพโดยเริ่มจากหน้ากระดาษเปล่า โดยใน illustrator จะมีทั้งปากกา พู่กัน ดินสอ และอุปกรณ์วาดภาพอื่นๆ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นการทำบนเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งเราสามารถทำงานได้หลากหลายรูปแบบ อาทิ

งานานสิ่งพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นโบร์ชัวร์ นามบัตร หนังสือ หรือนิตยสาร เรียกได้ว่างานสิ่งพิมพ์แทบทุกชนิดที่ต้องการความคมชัด 


โปแกรม Photoshop


โปรแกรม Adobe Photoshop (เรียกสั้นๆว่า Photoshop) เป็นผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์จากบริษัท Adobe System Incorporated ประเทศ สหรัฐอเมริกา เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างภาพ และการตกแต่งภาพที่เป็นที่นิยมมากที่สุอในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นโปรแกรมที่ใช้ในการสร้างภาพ และผลงานที่ได้เหมาะที่จะน่าไปใช้กับงานสิ่งพิมพ์ นิตยาสาร งานด้านมัลติมีเดีย และการสร้างภาพกราฟฟิกสำหรับเว็บที่นับวันกำลังพัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้ง

เวอร์ชันแรกของ Photoshopได้ออกสู่สายต่ชาวโลกตั้งแต่ปีค.ศ. 1990 ตลอด 14 ปีที่ผ่านมา Adobe มีการพัฒนาโปรแกรมอย่างต่อเนื่อง โดยการนำเอาโปรแกรมAdobe ImageReady ซึ่งเป็นโปรแกรมตกแต่งภาพสำหรับเว็บไซต์เข้ามาเป็นเป็นส่วนหนึ่งของชุด Photoshop ด้วย ยิ่งทำให้มีความสามารถหลากหลายมากขึ้น นอกจากนี้Photoshop สามารถใช้ได้ทั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์แบบPC และคอมพิวเตอร์แบบMacintosh จงยิ่งทำให้โปรแกรมPhotoshop เป็นจ้าวครองตลาดด้านซอฟต์แวร์ในหารตกแต่งกราฟฟิกที่ดีที่สุด

หากกล่าวถึงความสามารถของPhotoshop ว่าทำอะไรได้บ้างนั้น อาจต้องบรรยายสรรพคุณกันนานมาก แต่โดยสรุปแล้ว Photoshop มีความสามารถหลักอยู่ 2 ประการคือ

1. แก้ไขตกแต่งภาพถ่าย หรือภาพกราฟฟิก งานด้านนี้เป็นงานที่ Photoshop ถนัดนักกล่าวคือ Photoshopนั้น ถูกสร้างขึ้นเพื่องานด้านนี้โดยเฉพาะ ถ้ามีภาพถ่ายที่ไม่เป็นที่น่าพอใจนัก หรือต้องการจะตกแต่งสีสันแก้ไขริ้วรอย เพิ่มความมืดความสว่างของภาพ หรือแม้แต่การนำเอาภาพถ่ายแนวนอนหลายๆภาพมาต่อกันให้เป็นภาพแบบ Panorama (ภาพที่มีขนาดยาวมาก) ก็สามารถใช้เครื่องมือที่โปรแกรมเตรียมมาไว้ให้ทำงานได้อย่างสบาย

2. ออก แบบสร้างสรรค์งานกราฟฟิก(สำหรับเว็บไซต์) นอกจากความสามารถในหารแก้ไข แต่งเติมแล้ว โปรแกรมยังมีความสามารถด้านการสร้างผลงานขึ้นเองได้ด้วย เช่น งานวาดและลงสีตัวการ์ตูน งานออกแบบสิ่งพิมพ์ งานด้านการสร้างารรค์ตัวอักษรและลวดลายแปลกๆ รวมถึงความสามารถในงานออกแบบและสร้างสรรค์องค์ประกอบต่างๆสำหรับเว็บไซต์ ซึ่งมีโปรแกรมคู่หูอย่าง ImageReady มาช่วยด้วย

องค์ประกอบสำคัญในการทำ Web ให้ ดูน่าสนใจ คงหนีไม่พ้นรูปภาพที่นำมาตกแต่ง ซึ่งผู้พัฒนาหลายๆ คน บ้างก็นำภาพสำเร็จมาใช้งาน บ้างก็นำภาพจากเวบอื่นๆ ที่ดูสวยงามมาใช้ และก็มีไม่น้อยที่สร้างภาพเอง โดยอาศัยโปรแกรมกราฟิกต่างๆ เช่น PhotoShop, PhotoImpact, Paint Shop เป็นต้น

โปรแกรม PhotoShop นับ ว่าเป็นโปรแกรมกราฟิกสุดฮิต ที่นิยมใช้ในการปรับแต่งภาพ หรือสร้างภาพ เพื่อนำมาใช้งานในเวบ เนื่องจากมีฟังก์ชันการทำงาน ที่หลากหลาย มีฟิลด์เตอร์เพื่อปรับแต่งภาพ จากค่ายต่างๆ ทำให้ง่ายต่อการปรับแต่งภาพตามต้องการ เดิมทีนิยมใช้ PhotoShop เพื่องานสื่อสิ่งพิมพ์ (Desktop Publishing) แต่ปัจจุบัน Web Design มีบทบาทในงานธุรกิจและงานการศึกษาสูงมาก จึงนำ PhotoShop มาใช้ในงานนี้ด้วย

การทำภาพกราฟิกเพื่อใช้ในงานเวบ มีหลักการเฉพาะ แตกต่างไปจากงานสื่อสิ่งพิมพ์ ทั้งเรื่องความละเอียดของภาพ (Resolution) ที่ใช้แค่ 72 dpi หรือจำนวนสีที่ใช้แสดงผล เป็นต้น ดังนั้นการศึกษาถึง ลักษณะเฉพาะในการใช้ PhotoShop สร้างกราฟิกในงานเวบ จึงเป็นศาสตร์ที่น่าสนใจอีกศาสตร์หนึ่ง

เตรียมให้พร้อมก่อนการใช้งาน
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสม
เนื่องจาก Photoshop เป็นโปรแกรมที่ทำวานเกี่ยวกับกราฟฟิก ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้อง
มีสเปคเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วสูง มีหน่วยความจำ RAM และ HARDDISK ที่มีความเร็วสูง
และมีพื้นที่ว่างมากๆ
สเปคเครื่องที่แนะนำ
- ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows
- เครื่องคอมพิวเตอร์ทีมี CPU ความเร็วระดับ 400 MHz ขึ้นไป
- RAM ควรมี 128 Mb ขึ้นไป
- Harddisk ความเร็วรอบ 7,200 รอบ ความจุ 10 G ขึ้นไป
- VGA card ต้องมีความสามารถแสดงผลได้ 256 สีขึ้นไป
- Monitor 15“ ขึ้นไป (แนะนำควรเป็น 17”)
- CD-ROM
- เมาส์-คีย์บอร์ด



โปรแกรม Coreldraw







เป็นโปรแกรมจำพวกจัดการรูปภาพชนิดหนึ่ง ซึ่งรูปภาพดังกล่าวนั้นส่วนใหญ่จะเป็นภาพที่เกิดจาก จุด เส้น สี และอื่น ๆ ซึ่ง จุด เส้น สี และอื่น ๆ ที่ถูกสร้างด้วยโปรแกรม Corel DRAW นั้นจะสูตรทางคณิตศาสตร์ กำหนดค่าต่าง ๆ อย่างชัดเจนซึ่งค่าต่าง ๆ เหล่านี้ก็ได้มาจากการที่ผู้ใช้วาดภาพด้วยเครื่องมือต่าง ๆ แล้วตัวโปรแกรมจะสร้างสูตรต่าง ๆ ที่เหมาะสมให้เอง จากนั้นถึงแสดงผลออกมาเป็น จุด เส้น สี และอื่น ๆ ตามที่เราต้องการ เพราะ การทำงานที่เป็นสูตรต่าง ๆ นั้นเอง ที่มีทั้งค่าคงที่ และตัวแปร ทำให้เมื่อเราขยาย หรือย่อขนาดภาพ ตัวโปรแกรม CorelDRAW ก็จะนำค่าที่เปลี่ยนแปลง (เพราะปรับขนาด) มาคำนวนอีกทีแล้วถึงค่อยแสดงผล ทำให้ภาพนั้น ๆ คมชัดเสมอ และเพราะสิ่งเหล่านี้ เราจะเรียกภาพที่ถูกสร้างขึ้นมาในลักษณะนี้ว่า ภาพแบบ vector base (ยังมีภาพแบบ raster อีกประเภทซึ่งจะไม่ขอกล่าวในตอนอื่น) ด้วย ลักษณะของการสร้างภาพดังย่อหน้าที่กล่าวมา บวกกับแนวคิดของโปรแกรม CorelDRAW ที่ยึดหลัก object (ผมก็ไม่รู้ว่าเขาเรียกว่าไงนะ แต่มันประมาณนี้) ซึ่งกล่าวคือ ทุกสิ่งทุกอย่างในโปรแกรม CorelDRAW จะมองเสมือนเป็นวัตถุ (object) หนึ่ง ๆ ซึ่งมีคุณสมบัติของตัวมันเอง เช่นเส้นหนึ่งเส้นก็จะมีคุณสมบัติที่เราสามารถแก้ไขได้ เช่น ตำแหน่ง ความหนา และอื่น ๆ ทำให้หลาย ๆ คนที่พึ่งเคยจับ CorelDRAW ครั้งแรก อาจจะมึนงงกับ interface ไปบ้าง เพราะว่ามันทั้งเยอะ และเปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งที่มันจะทำงานด้วยอยู่เสมอ แต่ถ้าเราทำความเข้าใจกับหลักการที่อิงวัตถุ และวัตถุมีคุณสมบัติของตัวมันเอง จะทำให้เราเข้าใจ CorelDRAW ได้ง่ายขึ้น ตรง เรื่องการอิงเรื่องวัตถุของ CorelDRAW นั้นต่างจากโปรแกรมคู่แข่งอย่างเช่น Illustrator อย่างเห็นได้ชัด Illustrator นั้นจะไม่อิงการทำงานแบบวัตถุให้เห็นซักเท่าไหร่ อีกทั้ง interface ต่าง ๆ ก็ไม่มากนักทำให้ผู้ใช้รู้สึกว่ามันง่ายกว่า

vector คืออะไร?
vector เป็นกราฟฟิคประเภท resolution-independent มีลักษณะของการสร้างให้แต่ละส่วน
เป็นอิสระต่อกัน โดยแยกชิ้นส่วนทั้งหมดของภาพ ออกเป็น เส้นตรง หรือเส้นโค้ง โดยการอ้างอิง
ตามความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ หรือการคำนวน เป็นตัวสร้างภาพ เป็นการรวมเอา object
(เช่น วงกลม เส้นตรง ทรงกลม ลูกบาศก์และอื่นๆ เรียกว่ารูปทรงพื้นฐาน)ต่างชนิดมาผสมกัน
มีทิศทางการลากเส้นไปในแนวต่างๆ เพื่อสร้างภาพที่แตกต่างกัน โดยใช้คำสั่งง่ายๆ จึงเรียกภาพ
ประเภทนี้ว่า vector graphic หรือ object oriented
ลักษณะเด่นของ vector คือสามารถยืด และหดภาพเท่าใดก็ได้ โดยที่ภาพจะไม่แตก ความละเอียด
ของภาพไม่เปลี่ยนแปลง คงคุณภาพของภาพไว้เหมือนเดิม และยังขยายเฉพาะความกว้าง หรือ
ความสูง เพื่อให้มองเห็นเป็นภาพที่ผอม หรืออ้วนกว่าภาพเดิมได้ด้วย และไฟล์มีขนาดเล็กกว่าภาพ
bitmap ภาพแบบ vector จึงเหมาะสำหรับงานแบบวาง layout งานพิมพ์ตัวอักษร line art หรือ
illustration

ชนิดและรูปแบบไฟล์กราฟิก

ไฟล์กราฟิกมีรูปแบบอยู่ 3 ไฟล์ คือ
1.ไฟล์สกุล GIF (Graphics Interlace File) เป็นไฟล์กราฟิกมาตรฐาน จะใช้เมื่อต้องการไฟล์ที่มีขนาดเล็ก จำนวนสีและความละเอียดของภาพไม่สูง ต้องการพื้นแบบโปร่งใส ต้องการแสดงผลแบบโครงร่างก่อน แล้วค่อยแสดงผลแบบละเอียด ต้องการนำเสนอภาพแบบภาพเคลื่อนไหว
จุดเด่น มีขนาดไฟล์ต่ำ สามารถทำพื้นของภาพให้เป็นพื้นแบบโปร่งใสได้ มีระบบแสดงผลแบบหยาบและค่อยๆ ขยายไปสู่ละเอียด เรียกดูได้กับ Graphics Browser ทุกตัว ความสามารถด้านการนำเสนอแบบภาพเคลื่อนไหว ( Gif Animation)
จุดด้อย  แสดงสีได้เพียง 256 สี ไฟล์ .GIF มี 2 สกุล ได้แก่ GIF87 เป็นไฟล์ที่มีขนาดเล็กและแสดงผลสีได้เพียง 256 สี และกำหนดให้แสดงผลแบบโครงร่างได้ ,GIF89A ซึ่งเป็นไฟล์กราฟิกที่มีความสามารถพิเศษโดยนำเอาไฟล์ภาพหลายไฟล์มารวมกันและนำเสนอภาพโดยอาศัยการหน่วงเวลา มีการใส่รูปแบบการนำเสนอในลักษณะภาพเคลื่อนไหว 
2.ไฟล์สกุล JPG (Joint Photographer’s Experts Group) เป็นไฟล์ที่นิยมใช้บน Internet ใช้กรณี ภาพที่ต้องการนำเสนอมีความละเอียดสูง และใช้สีจำนวนมาก จะใช้กับภาพถ่ายที่นำมาสแกนและต้องการนำไปใช้บนอินเทอร์เน็ต เพราะให้ความคมชัดและความละเอียดของภาพสูง
จุดเด่น สนับสนุนสีได้ ถึง 24 bit สามารถกำหนดค่าการบีบไฟล์ มีระบบแสดงผลแบบหยาบ ขยายไปสู่ละเอียดในระบบ Progressive เรียกดูได้กับ Graphics Browser ทุกตัว ตั้งค่าการบีบไฟล์ได้
จุดด้อย  ทำให้พื้นของรูปโปร่งใสไม่ได้ กำหนดค่าการบีบไฟล์ไว้สูง ( 1 - 10) เมื่อมีการส่งภาพจาก Server ไปแสดงผลที่ Client จะทำให้การแสดงผลช้ามาก เพราะต้องเสียเวลาในการคลายไฟล์ 
3.ไฟล์สกุล PNG (Portable Network Graphics)
จุดเด่น สนับสนุนสีได้ถึงตามค่า True color สามารถกำหนดค่าการบีบไฟล์ได้ มีระบบแสดงผลแบบหยาบ ขยายไปสู่ละเอียด สามารถทำพื้นโปร่งใสได้
จุดด้อย หากกำหนดค่าการบีบไฟล์ไว้สูง จะใช้เวลาในการคลายไฟล์สูงตามไปด้วย แต่ขนาดของไฟล์จะมีขนาดต่ำ ไม่สนับสนุนกับ Graphic Browser รุ่นเก่า ความละเอียดของภาพและจำนวนสีขึ้นอยู่กับ Video Card โปรแกรมสนับสนุนในการสร้างมีน้อย


ไฟล์กราฟิก มี 2 ชนิด คือ 
1.กราฟิกแบบ Bitmap เป็นภาพแบบ Resolution Dependent ประกอบ ขึ้นด้วยจุดสีต่างๆที่มีจำนวนคงที่ตายตัวตามการสร้างภาพที่มี Resolution หรือความละเอียดของภาพต่างกันไป หากขยายภาพ Bitmap จะเห็นว่ามีลักษณะเป็นตารางเล็กๆ ซึ่งแต่ละบิตคือส่วนหนึ่งของข้อมูลคอมพิวเตอร์
              ภาพแบบ Bitmap เหมาะสำหรับงานกราฟิกที่ให้แสงเงาในรายละเอียด เป็นไฟล์ที่เหมาะกับการทำงานกับภาพเหมือนจริงประเภทภาพถ่าย เพราะ Bitmap มี Channel พิเศษ เรียกว่า Alpha Channel ซึ่งเป็น 32 bit  คือสีสมจริง
ไฟล์ภาพแบบ Bitmap ในระบบวินโดวส์คือ ไฟล์ที่มีนามสกุล .BMP, .PCX. , .TIF, .GIF, .JPG, .MSP, .PCD  สำหรับโปรแกรมที่ใช้สร้างกราฟิกแบบนี้คือ Paintbrush, PhotoShop, Photostyler
2.กราฟิกแบบ Vectorเป็นภาพประเภท Resolution-Independent มี ลักษณะของการสร้างให้แต่ละส่วนเป็นอิสระต่อกัน โดยแยกชิ้นส่วนของภาพทั้งหมดออกเป็นเส้นตรง รูปทรงหรือส่วน เป็นการรวมเอา Object ต่างชนิดมาผสมกัน มีทิศทางการลากเส้นไปในแนวต่างๆ เพื่อสร้างภาพที่แตกต่างกันโดยใช้คำสั่งง่ายๆ จึงเรียกภาพประเภทนี้ว่า Vector Graphic
        ลักษณะเด่นคือ สามารถยืดหรือหดภาพเท่าใดก็ได้ โดยที่ภาพจะไม่แตก ความละเอียดของภาพไม่เปลี่ยนแปลง และไฟล์มีขนาดเล็กกว่าภาพ Bitmap 
ไฟล์รูปภาพแบบ Vector ในระบบวินโดวส์คือ ไฟล์ที่มีนามสกุล .EPD, .WMF, .CDR, .AI, .CGM, .DRW, .PLT เป็นต้น โดยมีโปรแกรม CorelDraw เป็นโปรแกรมสร้าง
ความแตกต่างระหว่างกราฟิกแบบ Bitmap และ Vector
Bitmap
1. ลักษณะภาพประกอบขึ้นด้วยจุดต่างๆ มากมาย
2. ภาพมีจำนวนพิกเซลคงที่จึงต้องการค่าความละเอียดมากขึ้นเมื่อขยายภาพ โดยจะคำนวณค่าสีทีละ pixels ทำให้ภาพแตกเมื่อขยายภาพให้ใหญ่
3. เหมาะสำหรับงานกราฟิก ในแบบต้องการให้แสงเงาในรายละเอียด
Vector
1. ใช้สมการทางคณิตศาสตร์เป็นตัวสร้างภาพ โดยรวมเอา Objectต่างชนิดมาผสมกัน
2. สามารถย่อและขยายขนาดได้มากกว่า โดยสัดส่วนและลักษณะของภาพยังเหมือนเดิม ความละเอียดของภาพไม่เปลี่ยนแปลง
3. เหมาะสำหรับงานแบบวาง Layout งานพิมพ์ตัวอักษร Line Art หรือ Illustration
4. คอมพิวเตอร์จะใช้เวลาในการแสดงภาพมากกว่า เนื่องจากต้องทำตามคำสั่งที่มีจำนวนมากกว่า

ความหมายของกราฟิก

ความหมายของกราฟิก
กราฟฟิก (Graphic) มาจากภาษากรีก คำคือ
1. Graphikos หมายถึง การวาดเขียน
2. Graphein หมายถึง การเขียน
ต่อมามีผู้ให้ความหมายของคำว่า กราฟิก” ไว้หลายประการซึ่งสรุปได้ดังนี้
                          กราฟิก หมายถึง ศิลปะแขนงหนึ่งซึ่งใช้สื่อความหมายด้วยเส้น สัญลักษณ์ รูปวาด ภาพถ่าย กราฟ แผนภูมิ การ์ตูน ฯลฯ เพื่อให้สามารถสื่อความหมายข้อมูลได้ถูกต้องตรงตามที่ผู้สื่อสารต้องการ
                                                                     กราฟิกประกอบด้วย
1. ภาพบิตแมพ (Bitmap)
                 เป็นภาพที่มีการเก็บข้อมูลแบบพิกเซล หรือจุดเล็กๆ ที่แสดงค่าสี ดังนั้นภาพหนึ่งๆ จึงเกิดจากจุดเล็กๆ หลายๆ จุดประกอบกัน (คล้ายๆ กับการปักผ้าครอสติก) ทำให้รูปภาพแต่ละรูป เก็บข้อมูลจำนวนมาก เมื่อจะนำมาใช้ จึงมีเทคนิคการบีบอัดข้อมูล ฟอร์แมตของภาพบิตแมพ ที่รู้จักกันดี ได้แก่ .BMP, .PCX, .GIF, .JPG, .TIF
2. ภาพเวกเตอร์ (Vector)
                 เป็นภาพที่สร้างด้วยส่วนประกอบของเส้นลักษณะต่างๆ และคุณสมบัติเกี่ยวกับสีของเส้นนั้นๆ ซึ่งสร้างจากการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น ภาพของคน ก็จะถูกสร้างด้วยจุดของเส้นหลายๆ จุด เป็นลักษณะของโครงร่าง (Outline) และสีของคนก็เกิดจากสีของเส้นโครงร่างนั้นๆ กับพื้นที่ผิวภายในนั่นเอง เมื่อมีการแก้ไขภาพ ก็จะเป็นการแก้ไขคุณสมบัติของเส้น ทำให้ภาพไม่สูญเสียความละเอียด เมื่อมีการขยายภาพนั่นเอง ภาพแบบ Vector ที่หลายๆ ท่านคุ้นเคยก็คือ ภาพ .wmf ซึ่งเป็น clipart ของ Microsoft Office นั่นเอง นอกจากนี้คุณจะสามารถพบภาพฟอร์แมตนี้ได้กับภาพในโปรแกรม Adobe Illustrator หรือ Macromedia Freehand


3. คลิปอาร์ต (Clipart)
             เป็นรูปแบบของการจัดเก็บภาพ จำนวนมากๆ ในลักษณะของตารางภาพ หรือห้องสมุดภาพ หรือคลังภาพ เพื่อให้เรียกใช้ สืบค้น ได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว
4. HyperPicture

             มักจะเป็นภาพชนิดพิเศษ ที่พบได้บนสื่อมัลติมีเดีย มีความสามารถเชื่อมโยงไปยังเนื้อหา หรือรายละเอียดอื่นๆ มีการกระทำ เช่น คลิก (Click) หรือเอาเมาส์มาวางไว้เหนือตำแหน่งที่ระบุ (Over)

อุปกรณ์ Input Output Import Export

อุปกรณ์นำเข้า(Input Device)เป็นอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการนำข้อมูลหรือชุดคำสั่งเข้ามายังระบบเพื่อให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลต่อไปได้ ซึ่งอาจเป็นตัวเลข ตัวอักษร ภาพกราฟิก เสียง หรือวิดีโอ เป็นต้น อุปกรณ์นำข้อมูลเข้าที่พบเห็นได้ในปัจจุบันพอจะยกตัวอย่างได้ดังนี้

1. อุปกรณ์แบบกด (Keyed Device)    
          1.1 คีย์บอร์ด 
(Keyboard) เป็นอุปกรณ์นำข้อมูลเข้าที่นิยมใช้กันมากที่สุดและพบเห็นในการใช้งานทั่วไป โดยรับข้อมูลป้อนเข้าที่เป็นตัวอักษร อักขระพิเศษ ตัวเลข รวมถึงชุดคำสั่งต่าง ๆ ตัวอุปกรณ์จะมีกลุ่มของแป้นพิมพ์วางเรียงต่อกันเหมือนกับเครื่องพิมพ์ดีด ผู้ใช้งานสามารถเลือกกดปุ่มใด ๆ ได้ทันที โดยข้อมูลทั้งหมดที่ป้อนเข้ามาจะถูกส่งเข้าไปเก็บยังหน่วยความจำของระบบและแปลงให้เป็นรหัสที่คอมพิวเตอร์เข้าใจเสียก่อน จากนั้นจึงจะนำไปประมวลผลต่อไป ปัจจุบันอาจพบเห็นคีย์บอร์ดประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้


                (1) คีย์บอร์ดมาตรฐาน ( Standard keyboard ) เป็นคีย์บอร์ดที่นิยมใช้กันโดยทั่วไป มีลักษณะคล้ายกับแป้นพิมพ์บนเครื่องพิมพ์ดีด โดยปกติจะประกอบด้วยกลุ่มของแป้นพิมพ์หลัก ๆ ดังต่อไปนี้ 

•  แป้นพิมพ์ตัวอักขระ ( alphabetic key ) เป็นกลุ่มของแป้นพิมพ์ซึ่งมีบริเวณใหญ่ที่สุด ประกอบด้วยแผงอักขระสำหรับการป้อนข้อมูลที่มีทั้งตัวอักษร ตัวเลขและอักขระแบบพิเศษทั่วไป

         •  แป้นสำหรับควบคุมทิศทาง ( cursor-movement key ) เป็นกลุ่มของแป้นพิมพ์สำหรับควบคุมทิศทางการเคลื่อนที่ของเคอร์เซอร์และเปลี่ยนจุดหรือบริเวณการทำงาน

         •  แป้นฟังก์ชัน ( function key ) เป็นกลุ่มของแป้นพิมพ์สำหรับการเลือกคำสั่งลัดที่มีอยู่ในบางประเภท แป้นเหล่านี้จะอยู่บนแถวแรกสุดของคีย์บอร์ด

       •  แป้นควบคุม ( control key ) เป็นกลุ่มของแป้นพิมพ์สำหรับสั่งการบางอย่างร่วมกับปุ่มอื่น ๆ บางครั้งนิยมเรียกว่า modifier keys เช่น Ctrl , Alt , Shift เป็นต้น

      •  แป้นป้อนข้อมูลตัวเลข ( numeric keypad ) เป็นกลุ่มของแป้นพิมพ์สำหรับการป้อนค่าข้อมูลที่เป็นตัวเลขเพื่อช่วยในการบันทึกข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น การป้อนข้อมูลเพื่อคำนวณหรือหาผลลัพธ์ทางบัญชี

2 คีย์บอร์ดติดตั้งภายใน ( Built-in keyboard ) เป็นคีย์บอร์ดที่ปรับขนาดของแป้นพิมพ์ให้เล็กลง พบเห็นในการใช้งานกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ประเภทพกพา เช่น โน๊ตบุ๊คหรือเดสก์โน๊ต ซึ่งมีพื้นที่ในการใช้งานค่อนข้างจำกัด แป้นพิมพ์นี้จะถูกติดตั้งมาพร้อมกับการผลิตเครื่องอยู่แล้ว



(3)คีย์บอร์ดเออร์โกโนมิกส์ ( Ergonomic keyboard ) เป็นคีย์บอร์ดที่มีการออกแบบโดยคำนึงถึงความสะดวกสบายและความปลอดภัยของผู้ใช้งานเป็นหลัก เนื่องจากการป้อนข้อมูลเป็นเวลานาน ๆ อาจจะทำให้เกิดความเมื่อยล้าจากการพิมพ์จนเกิดการบาดเจ็บเนื่องจากเส้นอักเสบได้ จึงมีการออกแบบแป้นพิมพ์ใหม่ เช่น เพิ่มอุปกรณ์สำหรับการวางมือและออกแบบทิศทางสำหรับการจัดวางแป้นพิมพ์ใหม่ให้สัมพันธ์กับสรีระของมนุษย์มากขึ้น ปัจจุบันจะพบเห็นคีย์บอร์ดชนิดนี้เข้ามาแทนที่คีย์บอร์ดมาตรฐานกันมากขึ้น เนื่องจากช่วยลดปัญหาในเรื่องการบาดเจ็บของข้อมือได้เป็นอย่างดี

 

(4) คีย์บอร์ดไร้สาย ( Cordless keyboard ) คีย์บอร์ดแบบมาตรฐานที่ใช้กันทั่วไป อาจไม่มีความสะดวกสบายมากพอเมื่อต้องการใช้งานในระยะที่ไกลจากโต๊ะทำงาน อีกทั้งการดึง ย้าย หรือเปลี่ยนที่ของอุปกรณ์ยังทำให้เกิดความยุ่งยาก เนื่องจากตัวสายของคีย์บอร์ดเชื่อมต่ออยู่กับตัวเครื่องตลอดเวลา เมื่อเกิดหลุดก็ไม่สามารถทำงานต่อไปได้ ดังนั้นจึงได้มีการคิดค้นเพื่อสร้างคีย์บอร์ดแบบใหม่ที่อาศัยการส่งผ่านข้อมูลโดยเทคโนโลยีไร้สายขึ้นและทำงานโดยใช้พลังงานแบตเตอรี่แทน ทำให้สามารถย้ายคีย์บอร์ดไปวางยังตำแหน่งใด ๆ ที่อยู่ในรัศมีของสัญญาณนอกเหนือจากโต๊ะทำงานได้ 

 
  (5)คีย์บอร์ดพกพา ( Portable keyboard ) เมื่ออุปกรณ์ประเภทเครื่องพีดีเอได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้น การทำงานบางอย่างที่ต้องอาศัยการป้อนข้อมูลเข้าไป เช่น พิมพ์ข้อความรายงาน จดหมายหรือบันทึกการประชุม จะเกิดความไม่สะดวก เพราะตัวเครื่องมีขนาดเล็ก หากใช้ปากกาช่วยเขียนก็จะทำได้ช้ากว่า จึงมีการสร้างคีย์บอร์ดที่สามารถพกพาไปยังที่ต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น เพียงแค่กางออกมาก็สามารถใช้ได้เหมือนกับคีย์บอร์ดปกติ


  (6) คีย์บอร์ดเสมือน ( Virtual keyboard ) เป็นอุปกรณ์ที่พัฒนาขึ้นสำหรับใช้ร่วมกับเครื่องพีดีเอเช่นเดียวกันกับคีย์บอร์ดพกพา แต่ต่างกันตรงที่มีการจำลองภาพให้เป็นเสมือนคีย์บอร์ดจริง โดยอาศัยการทำงานของแสงเลเซอร์ยิงลงไปบนโต๊ะหรืออุปกรณ์รองรับสัญญาณที่เป็นพื้นผิวเรียบ เมื่อต้องการใช้งานก็สามารถพิมพ์หรือป้อนข้อมูลที่เห็นเป็นภาพเหมือนแผงแป้นพิมพ์นั้นเข้าไปได้เลย ตัวรับแสงในอุปกรณ์จะตรวจจับได้เองว่าผู้ใช้วางนิ้วไหนไปกดตรงตัวอักษรใด



2. อุปกรณ์ชี้ตำแหน่ง (Pointing Device)
       2.1 เมาส์ ( Mouse ) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ชี้ตำแหน่งการทำงานรวมถึงสั่งการให้คอมพิวเตอร์ทำงานบางคำสั่งที่มีการโต้ตอบกันระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ โดยใช้มือเป็นตัวบังคับทิศทางและใช้นิ้วสำหรับการกดเลือกคำสั่งงาน สามารถพบเห็นได้ 2 ประเภท ดังนี้
                 เมาส์แบบทั่วไป ( Mechanical mouse ) เป็นเมาส์ที่ได้รับการออกแบบโดยใช้ลูกบอลเป็นตัวจับทิศทางที่เมาส์เลื่อนไป ลูกบอลของเมาส์มีลักษณะเป็นลูกกลม ๆ ทำจากยางกลิ้งอยู่ด้านล่าง ซึ่งจะลากผ่านแผ่นรองเมาส์ ( mouse pad ) และกลไกภายในจะจับได้ว่ามีการเลื่อนไปมากน้อยแค่ไหนและในทิศใด สำหรับส่วนบนจะมีปุ่มให้เลือกกดประมาณ 2-3 ปุ่ม ขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ผลิต บางแบบอาจมีปุ่มล้อที่หมุน ( scroll ) และกดได้เพื่อควบคุมการทำงานขึ้นลงของสโครลบาร์ในหน้าต่างโปรแกรมบางประเภท

             เมาส์แบบแสงหรือออปติคอลเมาส์ ( Optical mouse ) การใช้เมาส์แบบทั่วไปที่ใช้ลูกบอล มีข้อเสียคือ เมื่อใช้ไปนาน ๆ ลูกบอลจะกลิ้งผ่านและเก็บเอาฝุ่นละอองเข้าไปด้วย ฝุ่นเหล่านี้จะจับตัวกันหนาขึ้น ส่งผลให้กลไกในการทำงานผิดเพี้ยนไปมาก จึงมีการสร้างเมาส์แบบใหม่ขึ้นมาเรียกว่า เมาส์แบบแสง หรือ ออปติคอลเมาส์ เพื่อใช้แก้ปัญหานี้ เมาส์แบบใหม่นี้ทำงานได้โดยไม่ต้องใช้ล้อหมุนแต่ใช้แสงไปกระทบพื้นผิวด้านล่าง วงจรภายในจะวิเคราะห์แสงสะท้อนที่เปลี่ยนไปเมื่อเลื่อนเมาส์และแปลงทิศทางเป็นการชี้ตำแหน่ง ซึ่งปัจจุบันมีทั้งที่เป็นแบบต่อกับคอมพิวเตอร์โดยใช้สายและแบบไม่ใช้สาย
        2.2 ลูกกลมควบคุม (Track ball) เป็นอุปกรณ์ที่มีหลักการทำงานคล้ายกับเมาส์ โดยมีลูกบอลติดตั้งไว้ส่วนบนเพื่อใช้สำหรับควบคุมทิศทาง เมื่อผู้ใช้หมุนลูกบอลก็คือการย้ายตำแหน่งตัวชี้นั่นเอง ลักษณะของลูกบอลมีขนาดใหญ่กว่าเมาส์มาก ส่วนใหญ่จะนำไปใช้ติดตั้งแยกต่างหาก เพื่อช่วยให้การทำงานกับคอมพิวเตอร์แบบพกพาสะดวกมากยิ่งขึ้น ในบางรุ่นอาจติดตั้งแทรคบอลอยู่ไว้ภายในด้วย แต่ปัจจุบันไม่ค่อยนิยมใช้กันแล้ว

 2.3  แท่งชี้ควบคุมหรือพอยติงสติ๊ก ( Pointing stick ) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับชี้ตำแหน่งข้อมูลเช่นเดียวกัน มีลักษณะเป็นก้อนเล็ก ๆ คล้ายกับยางลบดินสอ จะติดตั้งอยู่ตรงส่วนกลางของแป้นพิมพ์ในคอมพิวเตอร์แบบพกพา การควบคุมทิศทางของตัวชี้จะใช้นิ้วมือเป็นตัวบังคับเพื่อเลื่อนทำงานเช่นเดียวกัน โดยเมื่อดันให้แท่งนี้โยกไปทิศทางใด ลูกศรบนจอก็จะเลื่อนไปในทิศทางนั้น


             2.4 จอยสติ๊ก ( Joystick ) เป็นอุปกรณ์ที่พบเห็นได้กับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับเกมคอมพิวเตอร์เป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากการใช้เมาส์เพื่อบังคับทิศทางนั้นอาจไม่รองรับกับรูปแบบของบางเกมได้ จึงนำเอาจอยสติ๊กมาใช้แทน เช่น การบังคับทิศทางซ้าย ขวา หน้า หลัง หรือบังคับทิศทางในระดับองศาที่แตกต่างกันในการควบคุมอากาศยานหรือท่าต่อสู้ของตัวละคร ซึ่งทำให้เกมมีความสมจริงมากกว่าการใช้เมาส์นั่นเอง


               2.5  แผ่นรองสัมผัสหรือทัชแพด ( Touch pad ) เป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมบาง ๆ ติดตั้งไว้อยู่ในคอมพิวเตอร์แบบพกพา เพื่อใช้ทำงานแทนเมาส์ เมื่อกดสัมผัสหรือใช้นิ้วลากผ่านบริเวณดังกล่าวก็สามารถทำงานแทนกันได้ โดยมากจะติดตั้งไว้บริเวณด้านล่างของแป้นพิมพ์

                2.6 จอสัมผัสหรือทัชสกรีน ( Touch screen ) เป็นอุปกรณ์ที่สามารถใช้นิ้วมือแตะบังคับหรือสั่งการไปยังหน้าจอคอมพิวเตอร์ได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องใช้เมาส์หรือแป้นพิมพ์ มักพบเห็นได้ตามตู้ให้บริการข้อมูลนักท่องเที่ยว ตู้ ATM บางธนาคาร เครื่องออกบัตรโดยสาร รถไฟฟ้า หรือพบเห็นในตู้เกมบางประเภท เช่น เกมประเภทจับผิดภาพ เกมประเภททำนายดวงชะตา เป็นต้น
                   2.7 พวงมาลัยพังคับทิศทาง (Wheel) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้กับการเล่นเกมเหมือนกับจอยสติ๊ก พบเห็นได้กับเกมจำลองประเภทแข่งรถหรือควบคุมทิศทางของยานพาหนะ มีลักษณะเหมือนกับพวงมาลัยบังคับทิศทางในรถยนต์จริง เพื่อให้เกมจำลองนั้น ๆ มีความสมจริงมากยิ่งขึ้น อาจมีการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์เหยียบเบรกจำลอง ( pedal ) และตัวเร่งความเร็วจำลอง ( accelerator ) ด้วย

3. ประเภทปากกา ( Pen-Based Device )
     3.1 ปากกาแสง ( Light pen ) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการกำหนดตำแหน่งบนจอภาพรวมถึงการป้อนข้อมูลเข้าแทนแป้นพิมพ์ เอามาใช้เขียนหรือวางตำแหน่งบนจอภาพคอมพิวเตอร์ประเภทที่ใช้หลอดภาพหรือ CRT ได้เลย มักใช้ร่วมกับโปรแกรมประเภทช่วยการออกแบบหรือ CAD (computer aided design) เพื่อให้การทำงานมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น เนื่องจากสามารถลากหรือวาดทิศทางได้ง่าย แต่มีความละเอียดแม่นยำไม่สูงนัก เพราะถูกจำกัดด้วยความละเอียดของจอภาพ ปัจจุบันได้รับความนิยมน้อยลง

  3.2 ดิจิไทเซอร์ ( Digitizer ) หรืออุปกรณ์อ่านพิกัด มักใช้ร่วมกับอุปกรณ์ประเภทปากกาหรือในงานความละเอียดสูงจะใช้กับหัวอ่านที่เป็นกากบาทเส้นบาง ( crosshair ) เพื่อให้ชี้ตำแหน่งโดยละเอียด ทำหน้าที่เป็นเสมือนกระดานรองรับการเขียนข้อความ วาดภาพหรือออกแบบงานที่เกี่ยวกับกราฟิกเป็นหลัก ทำให้มีความคล่องตัวและสะดวกต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น

   3.3 สไตลัส ( Stylus ) เป็นอุปกรณ์ประเภทปากกาป้อนข้อมูลชนิดหนึ่งที่นิยมใช้กันมากในคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก เช่น พีดีเอ แท็บเล็ตพีซี หรืออาจพบเห็นในสมาร์ทโฟนบางรุ่น ผลิตมาเพื่อใช้เขียนหนังสือด้วยลายมือหรือวาดเส้นลงบนหน้าจออุปกรณ์ได้โดยตรง ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่อำนวยความสะดวกในการทำงานมากยิ่งขึ้น โดยจะทำหน้าที่แปลงรหัสในการเขียน (ที่คล้ายจดชวเลขในสมัยก่อน) ไปเป็นตัวอักษรที่คอมพิวเตอร์สามารถประมวลผลและใช้งานต่อได้ทันที เช่น นำไปจัดเก็บในสมุดรายชื่อ หรือเก็บบันทึกข้อความที่เขียนไว้เป็นไฟล์เพื่อเรียกใช้งานต่อไป

4. ประเภทข้อมูลมัลติมีเดีย ( Multimedia Input Device)
        4.1 ไมโครโฟน ( Microphone ) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลประเภทเสียงพูด ( Voice ) เข้าสู่ระบบ ใช้บันทึกหรืออัดข้อมูลเสียงในสตูดิโอหรือตามบ้านทั่วไป การทำงานจะใช้ร่วมกับซอฟต์แวร์ด้านมัลติมีเดีย นอกจากนี้ไมโครโฟนยังสามารถใช้ร่วมกับระบบจดจำเสียงพูดหรือ voice recognition (แต่ในขณะนี้ยังไม่สนับสนุนเสียงภาษาไทย) เพื่อทำงานบางอย่างได้ เช่น ใช้เสียงพูดผ่านไมโครโฟนเข้าไปแทนการพิมพ์ข้อมูลรายงานได้เลย โดยที่คอมพิวเตอร์จะทำการแปลงความหมายและประมวลผลผ่านเสียงที่ผ่านเข้ามาเป็นตัวอักษรโดยอัตโนมัติ เป็นต้น
       
  4.2 กล้องถ่ายวิดีโอดิจิตอล ( Digital Video camera ) เรียกย่อ ๆ ว่ากล้องประเภท DV ซึ่งเป็นกล้องวิดีโอแบบดิจิตอลนั่นเอง กล้องประเภทนี้สามารถถ่ายภาพเคลื่อนไหวและบันทึกเก็บหรือโอนถ่ายลงคอมพิวเตอร์ได้เช่นเดียวกัน แต่จำเป็นต้องใช้พื้นที่เก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่พอสมควร โดยมากจะบันทึกลงเทปขนาดเล็กในรูปแบบดิจิตอลก่อน (บางรุ่นอาจลงแผ่น CD-R หรือ DVD-R ที่บันทึกได้แทน) จากนั้นจะถ่ายโอนวิดีโอไปลงคอมพิวเตอร์ หรือจะเรียกดูภายหลังจากในกล้องก็ได้

           4.3 กล้องถ่ายรูปดิจิตอล ( Digital camera ) เป็นอุปกรณ์รับข้อมูลประเภทภาพถ่ายดิจิตอล ซึ่งปัจจุบันได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากราคาของกล้องประเภทนี้ถูกลงและสามารถบันทึกเก็บหรือถ่ายโอนลงคอมพิวเตอร์ได้โดยง่าย อีกทั้งภาพถ่ายที่ได้ในกล้องบางรุ่นยังมีความละเอียด ความคมชัดเทียบเคียงหรือมากกว่ากล้องธรรมดาบางรุ่น หรือหากจะนำไปอัดขยายต่อเป็นภาพถ่ายปกติก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน

    4.4 เว็บแคม ( Web cam ) เป็นกล้องถ่ายวิดีโออีกประเภทหนึ่งที่ใช้สำหรับการถ่ายภาพเคลื่อนไหวเช่นเดียวกัน แต่ภาพที่ได้จะหยาบและมีขนาดไฟล์เล็กกว่ากล้องแบบ DV มาก จึงนิยมใช้สำหรับการเผยแพร่ข้อมูลลงบนอินเทอร์เน็ตหรือนำไปใช้ประโยชน์กับโปรแกรมสนทนาบนเว็บบางประเภท เพื่อให้เห็นหน้าตาของคู่สนทนาระหว่างที่พิมพ์โต้ตอบกัน ปัจจุบันเว็บแคมมีราคาถูกลงอย่างมาก และยังสามารถบันทึกได้ทั้งภาพเคลื่อนไหวและภาพนิ่งด้วย


5. ประเภทสแกนและอ่านข้อมูลด้วยแสง(Scanner and Optical Reader)
       5.1 สแกนเนอร์ ( Scanner ) 
เป็นอุปกรณ์อ่านข้อมูลประเภทภาพถ่าย โดยผู้ใช้เพียงแค่วางภาพถ่ายหรือเอกสารลงไปบนแท่นวางแล้วสั่งให้เครื่องอ่านหรือสแกน ก็สามารถเก็บรูปภาพหรือเอกสารสำคัญต่าง ๆ เหล่านั้นไว้ในคอมพิวเตอร์ได้ หลักการทำงานจะเหมือนกับเครื่องถ่ายเอกสารคือ ใช้ลำแสงกวาดแผ่นกระดาษหรือเอกสารนั้น แล้วส่งภาพเข้าคอมพิวเตอร์เพื่อแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอลและเรียกใช้ต่อไป


    5.2 โอเอ็มอาร์ ( OMR – Optical Mark Reader ) เป็นเครื่องที่นำไปใช้ประโยชน์ในการตรวจข้อสอบหรือคะแนนของกลุ่มบุคคลจำนวนมาก เช่น การสอบเอ็นทรานซ์ การสอบวัดระดับภาษาอังกฤษ การสอบเข้ารับราชการของสำนักงาน ก.พ. โดยจะอ่านเครื่องหมาย ( Mark ) ที่ผู้เข้าสอบได้ระบายไว้ในกระดาษคำตอบ ซึ่งโดยปกติจะต้องใช้ดินสอที่มีความเข้มมากพอที่จะให้เครื่องอ่านได้ (ปกติจะอยู่ที่ความเข้มระดับ 2 B ขึ้นไป) หากใช้ดินสอที่มีความเข้มต่ำกว่าระดับที่กำหนด อาจทำให้เครื่องไม่สามารถอ่านได้ชัดเจน

             5.3 เครื่องอ่านบาร์โค้ด ( Bar code reader ) ตัวเลขของรหัสสินค้าที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลของระบบสินค้าคงคลังจะมีจำนวนหลักค่อนข้างมาก เมื่อต้องการเรียกใช้หรือตรวจสอบโดยการป้อนข้อมูลผ่านแป้นพิมพ์จะทำให้เกิดความผิดพลาดได้ง่าย (เช่น ป้อนตัวเลขผิด) จึงเกิดแนวความคิดในการพิมพ์รหัสสินค้าออกมาเป็นรหัสแท่งสีดำและขาวต่อเนื่องกันไปเรียกว่า บาร์โค้ด ( bar code ) ซึ่งนำไปใช้พิมพ์แทนรหัสตัวเลขของสินค้าอุปโภค บริโภคทั่วไป เพื่อสะดวกต่อการตรวจเช็คข้อมูลสินค้าคงเหลือรวมไปถึงการคิดเงินนั่นเอง เครื่องที่อ่านรหัสนี้เราเรียกว่า เครื่องอ่านบาร์โค้ด ( bar code reader ) มีหลายรูปแบบ เช่น หัวอ่านมีด้ามจับคล้ายปืน หรือบางแบบก็ฝังในแท่นของเครื่องเก็บเงินสดเลย พบเห็นได้ตามจุดบริการขาย ( POS – Point Of Sale ) ในร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อ หรือห้างสรรพสินค้าทั่วไป


  5.4 เอ็มไอซีอาร์ ( MICR – Magnetic-Ink Character Recognition ) เรียกย่อ ๆ ว่าเครื่อง เอ็มไอซีอาร์ ( MICR – Magnetic-Ink Character Recognition ) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อ่านตัวอักษรด้วยแสงของเอกสารสำคัญ เช่น เช็คธนาคาร ซึ่งมีการพิมพ์หมายเลขเช็คด้วยผงหมึกสารแม่เหล็ก ( magnetic ink ) เป็นแบบอักษรเฉพาะ มีลักษณะเป็นลายเส้นเหลี่ยม (ดังรูป) พบเห็นได้ในการประมวลผลเช็คสำหรับธุรกิจด้านธนาคาร

6. ประเภทตรวจสอบข้อมูลทางกายภาพ ( Biometric Input Device )

      ไบโอเมตริกส์ ( biometric ) เป็นลักษณะของการตรวจสอบข้อมูลส่วนตัวบุคคลเฉพาะอย่าง เช่น ลายนิ้วมือ รูปแบบของม่านตา (เรตินา - ratina ) ฝ่ามือ หรือแม้กระทั่งเสียงพูด ซึ่งนำมาใช้กับงานป้องกันและรักษาความปลอดภัยในหน่วยงานที่ต้องการความปลอดภัยในระดับสูง เนื่องจากระบบการตรวจสอบประเภทนี้จะปลอมแปลงได้ยาก เครื่องที่ใช้อ่านข้อมูลพวกนี้จะมีอยู่หลายประเภทขึ้นอยู่กับลักษณะการตรวจสอบ เช่น เครื่องอ่านลายนิ้วมือ เครื่องตรวจม่านตา เครื่องวิเคราะห์เสียงพูด เป็นต้น

อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์(Output Device)

อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ ( Output Device ) เป็นอุปกรณ์สำหรับแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ ผลลัพธ์ที่แสดงออกมาจะมีทั้งข้อมูลตัวอักษร, ภาพนิ่ง, ภาพเคลื่อนไหว หรือเสียง เป็นต้น อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทดังนี้
1. อุปกรณ์แสดงผลหน้าจอ ( Display device ) เป็นอุปกรณ์สำหรับการแสดงผลในรูปแบบกราฟิกและผู้ใช้สามารถเห็นผลลัพธ์ได้แค่ชั่วคราวเท่านั้น เมื่อไฟดับหรือปิดการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ลงไปจะไม่สามารถเห็นได้อีก บางครั้งนิยมเรียกอุปกรณ์ประเภทนี้ว่า soft copy นั่นเอง เช่น
          เทอร์มินอล ( Terminal ) มักพบเห็นได้กับจุดบริการขาย ( POS-Point Of Sale ) ตามห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ หรือจุดให้บริการลูกค้าเพื่อทำรายการบางประเภท เช่น ตู้รายการฝากถอน ATM อัตโนมัติ จอภาพของเทอร์มินอลจะมีขนาดเล็กกว่าจอภาพที่ใช้กับคอมพิวเตอร์
         จอซีอาร์ที ( CRT Monitor ) เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่นิยมใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทพีซี การทำงานจะอาศัยหลอดแก้วแสดงผลขนาดใหญ่ที่เรียกว่าหลอดรังสีคาโธด ( cathode ray tube ) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเดียวกับหลอดภาพของโทรทัศน์ และตัวจอภาพก็มีลักษณะเหมือนกับจอภาพของโทรทัศน์ มีหลายขนาดตั้งแต่ 14,15,16,17,19,20 และ 21 นิ้ว เป็นต้น (แนวโน้มการใช้งานปัจจุบันจะเลือกใช้จอภาพที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานได้ดีกว่าจอภาพขนาดเล็ก โดยเฉพาะงานที่ต้องใช้พื้นที่สำหรับทำงานบนจอภาพมาก ๆ เช่น การสร้างภาพกราฟิกหรือการออกแบบงาน 3 มิติ เป็นต้น

     จอแอลซีดี ( LCD Monitor )  เป็นอุปกรณ์แสดงผลอีกแบบหนึ่ง อาศัยการทำงานของโมเลกุลชนิดพิเศษเรียกว่า “ ผลึกเหลว” หรือ liquid crystal ในการแสดงผล (LCD = Liquid Crystal Display ) ซึ่งเมื่อมีสัญญาณไฟฟ้าส่งไปยังแต่ละจุดบนจอ ผลึกเหลว ณ จุดนั้นจะมีการบิดตัวของโมเลกุลเป็นองศาที่แตกต่างกัน ทำให้แสงที่ส่องจากด้านหลังจอผ่านได้มากน้อยต่างกัน และเกิดภาพสีต่าง ๆ ขึ้น แต่เดิมนิยมใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบโน๊ตบุ๊ค ปัจจุบันได้นำมาใช้กับเครื่องพีซีทั่วไปบ้างแล้ว เนื่องจากมีขนาดบาง เบาและสะดวกในการเคลื่อนย้ายมากกว่า อีกทั้งยังไม่เปลืองพื้นที่สำหรับการทำงานด้วย แต่ปัจจุบันยังมีราคาที่แพงกว่าจอแบบซีอาร์ทีพอสมควร

          โปรเจคเตอร์ ( Projector ) นิยมใช้สำหรับการจัดประชุม สัมมนา หรือการนำเสนอผลงาน ( presentation ) ที่ต้องการให้ผู้เข้าชมจำนวนมากได้เห็นข้อมูลภาพกราฟิกต่าง ๆ ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ทำหน้าที่เป็นเหมือนอุปกรณ์ช่วยขยายภาพขนาดเล็กจากจอภาพธรรมดาให้ไปแสดงผลลัพธ์เป็นภาพขนาดใหญ่ที่บริเวณฉากรับภาพ 

2. อุปกรณ์สำหรับพิมพ์งาน ( Print Device )
เป็นอุปกรณ์การแสดงผลที่แสดงออกมาให้อยู่ในรูปแบบข้อมูล รายงาน รูปภาพ หรือแผนที่ซึ่งสามารถจับต้องหรือเก็บรักษาไว้ได้อย่างถาวร นิยมเรียกอุปกรณ์เหล่านี้ Hard copy อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องสำหรับการพิมพ์งานมีดังนี้ 
      เครื่องพิมพ์แบบดอทเมตริกซ์( Dot matrix Printer ) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้กันในองค์กรธุรกิจทั่วไป เนื่องจากมีคุณสมบัติในการทำงานพิมพ์โดยอาศัยหัวเข็มพิมพ์กระทบลงไปที่ผ้าหมึก( ribbon ) และตัวกระดาษโดยตรงจึงเหมาะสมกับการพิมพ์เอกสารประเภทใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี ใบส่งของ หรือรายการสั่งซื้อที่จำเป็นต้องมีสำเนาเอกสาร(copy ) เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานทางการบัญชี นิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เครื่องพิมพ์แบบกระทบ(impact printer ) แต่มีข้อจำกัดในเรื่องการทำงานที่เป็นสี นอกจากนี้คุณภาพของงาน ความคมชัด และความเร็วยังต่ำกว่าเครื่องพิมพ์แบบอื่นๆ จึงมีความนิยมใช้ลดลง ถึงแม้มีราคาไม่สูงนักก็ตาม

 เครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์( Laser Printer ) ผลลัพธ์ที่ได้จากการพิมพ์เอกสารด้วยเครื่องพิมพ์แบบดอทเมตริกซ์ซึ่งอาศัยหัวพิมพ์กระทบลงไปในกระดาษเหมือหลักการของเครื่องพิมพ์ดีดนั้น ทำให้คุณภาพงานพิมพ์ที่ได้ไม่ชัดเจน จึงนิยมใช้เครื่องพิมพ์ประเภทเลเซอร์เข้ามาแทนเนื่องจากมีความคมชัดมากกว่าเครื่องพิมพ์แบบนี้อาศัยการทำงานของแสงเลเซอร์ฉายลงไปยังหลอดสร้าง( drum ) ภาพที่ได้รับการกระตุ้นของแสง แล้วฉีดผงหมึกเข้าไปยังบริเวณที่มีประจุอยู่(ซึ่งเป็นหลักการเดียวกับเครื่องถ่ายเอกสารนั่นเอง) จากนั้นให้กระดาษวิ่งมารับผงหมึก แล้วไปผ่านความร้อนเพื่อให้ภาพติดแน่น ข้อดีคือภาพที่ได้มีความละเอียดสูงมาก และความเร็วก็สูง แต่มีข้อเสียคือไม่สามารถพิมพ์เอกสารที่เป็นแบบสำเนา (copy ) เหมือนกับเครื่องพิมพ์แบบดอทเมตริกซ์ได้ นอกจากนี้ปัจจุบันเริ่มมีเครื่องพิมพ์งานสีได้แล้ว โดยใช้ผงหมึก 4 สีผสมกัน ซึ่งราคาเครื่องเริ่มลดลงมากแล้ว แต่ผงหมึกก็ยังแพงอยู่


เครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ต ( Ink-jet Printer ) เป็นเครื่องพิมพ์ที่มีการทำงานโดยอาศัยน้ำหมึกพ่นลงไปบนกระดาษตรงจุดที่ต้องการ และสามารถเลือกใช้ได้ทั้งหมึกสีและขาวดำ เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกอาจมีทั้งแบบราคาถูกที่ใช้งานตามบ้านทั่วไปสำหรับพิมพ์เอกสารที่ต้องการความสวยงาม เช่น ภาพถ่าย โปสการ์ด ปฏิทิน หรือพิมพ์บนกระดาษแบบพิเศษแล้วนำไปติดกับเสื้อผ้าหรือแก้วกาแฟ หรืออาจพบเห็นได้กับเครื่องพิมพ์ในบางรุ่นที่นิยมใช้กันในงานธุรกิจ เช่น งานพิมพ์โปสเตอร์หรือภาพสีขนาดใหญ่ แต่ก็มีราคาที่แพงตามไปด้วย

           พลอตเตอร์ ( Plotter ) เป็นเครื่องพิมพ์เพื่อแสดงผลลัพธ์อีกประเภทหนึ่ง มักใช้กับการพิมพ์เอกสารที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่มากและไม่สามารถพิมพ์ด้วยเครื่องขนาดเล็กได้ การทำงานใช้กลไกบังคับปากกาให้ขีดลงบนกระดาษโดยตรง ส่วนใหญ่เป็นเอกสารที่ต้องการความละเอียดสูง เช่น ภาพโฆษณา แผนที่ แผนผัง แบบแปลน เป็นต้น อย่างไรก็ดีอาจพบเห็นเครื่องพลอตเตอร์นี้ค่อนข้างน้อยในปัจจุบัน เนื่องจากเครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็ตได้เข้ามาแทนที่เกือบหมดแล้ว


3.อุปกรณ์ขับเสียง(AudioDevice)
          ลำโพง ( Speaker ) ข้อมูลที่เป็นแบบเสียงจะไม่สามารถแสดงผลลัพธ์ไปยังจอภาพของคอมพิวเตอร์ได้ แต่จะอาศัยอุปกรณ์แสดงผลเฉพาะที่เรียกว่า ลำโพง ( speaker ) เพื่อช่วยขับเสียงออก ปัจจุบันมีราคาถูกมากตั้งแต่ร้อยกว่าบาทจนถึงหลักพัน นิยมใช้สำหรับการแสดงผลในรูปของเสียงเพลงหรือเสียงประกอบในภาพยนตร์รวมถึงเสียงที่ได้จากการพูดผ่านไมโครโฟน